Health

  • ปวดเกร็งท้อง มีวิธีรักษาได้ด้วยตัวเอง
    ปวดเกร็งท้อง มีวิธีรักษาได้ด้วยตัวเอง

    ปวดเกร็งท้อง เป็นอาการที่ทำให้รู้สึกปวดบีบภายในช่องท้องเป็นช่วงๆ อาการเหล่านี้จะดีขึ้นและหายได้เองเมื่อผ่านไปไม่นาน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดอาการ แต่ถ้ามีอาการปวดท้องมากกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป จะไม่เข้าข่ายอาการปวดเกร็งท้อง แต่จะเอนเอียงไปทางอาการจุกเสียดมากกว่า และอาการปวดท้องเกิดขึ้นได้หลายบริเวณ ซึ่งบ่งบอกโรคที่แตกต่างกัน

    ปวดเกร็งท้อง มีอาการอย่างไร

    ปวดเกร็งท้อง เป็นอาการที่ทำให้รู้สึกปวดเกร็งหรือปวดบีบภายในช่องท้องเป็นช่วงๆ  ซึ่งสามารถพบได้ทั้งระดับที่ไม่รุนแรง ปานกลาง ไปจนถึงรุนแรง อาการปวดเกร็งท้องอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาสุขภาพทั่วไป ไปจนถึงโรคเรื้อรัง

    โดยทั่วไป อาการปวดเกร็งท้องอาจดีขึ้นและหายได้เองเมื่อผ่านไปไม่นาน และสามารถบรรเทาอาการด้วยตนเองได้หลายวิธี ในบทความนี้ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดเกร็งที่ท้องที่พบได้ทั่วไปและวิธีดูแลตัวเองแบบง่ายๆ เมื่อเกิดอาการปวดเกร็งท้อง

    สาเหตุของอาการ

    อาการปวดบีบหรือปวดเกร็งท้องที่ท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุและปัจจัย ดังนี้

    • อาการปวดประจำเดือน

    สาวๆ หลายคนอาจเคยเผชิญกับอาการปวดท้องในช่วงก่อนประจำเดือนมาและช่วงที่มีประจำเดือน อาการดังกล่าวอาจให้ความรู้สึกปวดเกร็งท้องหรือปวดบีบบริเวณท้องน้อย หรืออาจรู้สึกปวดหน่วงๆ ทั้งยังอาจปวดสะโพก ต้นขาด้านใน และหลังส่วนล่างร่วมด้วย

    อาการปวดเกร็งท้องเนื่องจากประจำเดือนอาจส่งผลให้มีอาการปวดหลายระดับ ตั้งแต่อาการปวดระดับไม่รุนแรง ปานกลาง และรุนแรงได้ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ทั้งนั้น โดยอาการปวดท้องจากประจำเดือนอาจดีขึ้นเอง แต่หากปวดท้องประจำเดือนติดต่อกันเกิน 2–3 วัน อาเจียน หรือท้องเสีย ควรไปพบแพทย์

    • ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้

    อาการปวดท้องเป็นสัญญาณที่พบได้บ่อยเมื่อลำไส้หรือระบบทางเดินอาหารเกิดความผิดปกติ โดยความผิดปกติต่อไปนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดเกร็งท้องได้

    • อาการท้องอืดและอาหารไม่ย่อยมักจะทำให้ปวดเกร็งบริเวณท้อง ไม่สบายท้อง ซึ่งอาจเป็นผลจากการกินอาหารบางประเภทและผลจากการเคลื่อนตัวของลำไส้ที่ผิดไปจากเดิม
    • กลุ่มอาการอาหารเป็นพิษจากการติดเชื้อในทางเดินอาหารและการได้รับสารเคมีจากอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดท้อง เป็นไข้ ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยสาเหตุอาจเกิดจากการกินอาหารที่ไม่สุก อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อาหารหมดอายุ และอาหารที่ใช้สารเคมีเพื่อยืดอายุ
    • ภาวะไวต่อน้ำตาลแล็กโตส (Lactose Intolerance) พบได้เฉพาะบางคนเท่านั้น โดยจะพบอาการปวดบีบที่ท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด และอาหารไม่ย่อย หลังจากกินอาหารที่มีน้ำตาลแล็กโตส เช่น ขนมปัง นมวัว โยเกิร์ต ชีส ไอศกรีม และอาหารที่มีนมวัวเป็นส่วนประกอบ
    • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง อย่างโรคโครห์น (Crohn’s Disease) และโรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) ซึ่งเป็นความผิดปกติของลำไส้ที่ต้องการการรักษาจากแพทย์ร่วมกับการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตราย

    นอกจากนี้ อาจมีปัญหาด้านลำไส้และระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดเกร็งที่ท้องได้เช่นกัน หากอาการปวดเกร็งท้องหรืออาการด้านลำไส้อื่นรุนแรงขึ้นหรือไม่สามารถหาสาเหตุได้ ควรไปแพทย์

    • การตั้งครรภ์

    คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อาจพบกับอาการปวดเกร็งท้องหรือปวดบีบที่ท้องได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ไม่อันตราย และไม่รุนแรงเท่ากับอาการปวดท้องประจำเดือน โดยคุณแม่อาจพบอาการปวดเกร็งดังกล่าวบริเวณท้องน้อยในช่วงที่ท้องอืดหรือมีแก๊สในกระเพาะ และในช่วงที่ทารกกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในครรภ์ของคุณแม่

    ในช่วงตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 3 คุณแม่อาจพบกับอาการเจ็บท้องหลอก (Braxton-Hicks Contractions) ที่จะทำให้เกิดอาการเกร็งที่ท้องน้อยมากกว่าปกติ แต่มักไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด คุณแม่หลายคนจึงคิดตัวเองกำลังจะคลอดทารก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเพียงการเจ็บหลอกเท่านั้น หากคุณแม่พบอาการเจ็บหลอกหรือกังวลเกี่ยวกับอาการดังกล่าว ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์

    อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบอาการปวดท้องรุนแรงขณะตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นทั้งสัญญาณการคลอดทารกและภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

    สาเหตุและรูปแบบของอาการปวดเกร็งท้องเหล่านี้อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาเหตุและปัจจัยที่พบได้บ่อยเท่านั้น หากพบอาการปวดเกร็งท้องที่รุนแรง ปวดติดต่อกันหลายวัน อาการไม่ดีขึ้น หรือพบอาการผิดปกติอื่นๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม

    ปวดเกร็งท้อง

    วิธีรักษาอาการปวดเกร็งท้องด้วยตัวเอง

    ในเบื้องต้นอาการปวดเกร็งท้อง อาจบรรเทาหรือรักษาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

    • พักผ่อนร่างกาย

    การนอนหลับพักผ่อนจะช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการใช้งานและการเจ็บป่วยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเกร็งหน้าท้องจากการมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ อาการอาหารเป็นพิษ และอาการอื่นๆ

    • ประคบร้อน

    การประคบร้อนด้วยวิธีต่างๆ เช่น การอาบหรือแช่น้ำอุ่น การใช้แผ่นแปะแก้ปวด หรือการใช้ถุงน้ำร้อนพันผ้าประคบท้องจนรู้สึกดีขึ้น โดยความร้อนจะช่วยให้หลอดเลือดขยาย ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ดี จึงอาจช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องคลายตัว และลดอาการปวดจากการหดเกร็งได้ แต่ควรระมัดระวังอุณหภูมิของอุปกรณ์ที่ใช้ประคบไม่ให้ร้อนจนเกินไป

    • ดูแลสุขภาพลำไส้

    ในส่วนของสาเหตุจะเห็นได้ว่า มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารจำนวนไม่น้อยที่ส่งผลเกิดอาการปวดเกร็งท้องและอาการปวดท้อง การดูแลสุขภาพลำไส้อย่างเหมาะสมในช่วงที่มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยอาจเริ่มจาก

    – เลี่ยงอาหารรสจัด กินอาหารรสอ่อนและย่อยง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคลำไส้ ท้องเสีย หรืออาเจียน

    – งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มคาเฟอีน

    – กินอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่อยู่เสมอ

    – ลองดื่มน้ำสมุนไพรหรือชาสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เช่น ชาคาโมมายล์และน้ำขิง

    – เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน ไม่กินอาหารเร็วเกินไป หรือแบ่งมื้ออาหารออกเป็นหลายมื้อย่อย แทนการกิน 3 มื้อหลักเพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดีขึ้น

    • ใช้ยารักษา

    หากลองวิธีรักษาในข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือพบอาการรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม โดยแพทย์อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง และยาอื่นๆ ตามสาเหตุที่แพทย์พบ เช่น ยาช่วยย่อยสำหรับอาการอาหารไม่ย่อย หรือยาลดกรดสำหรับอาการท้องอืด

    ก่อนใช้ยาหรือซื้อยาทุกครั้ง ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรถึงอายุ โรคประจำตัว ยาที่ใช้ ยาที่แพ้ สถานะการตั้งครรภ์ และการให้นมลูก รวมทั้งใช้ยาตามที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด ภายหลังการใช้ยา หากอาการไม่ดีขึ้น รุนแรงขึ้น หรือพบอาการผิดปกติอื่นๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง

    อาการปวดเกร็งท้องอาจลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่ออาการปวดท้อง ควรดูแลตนเองตามที่แพทย์แนะนำและไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ

    ปวดท้องจุดไหนบอกอะไรบ้าง

    1. ชายโครงขวา เป็นจุดของตับและถุงน้ำดี หากกดแล้วเจอก้อนแข็งๆ ประกอบกับอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ก็จะหมายถึง ความบกพร่องเกี่ยวกับตับหรือถุงน้ำดี ปวดมาก แนะนำควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
    1. ใต้ลิ้นปี่ หรือกลางตัว บริเวณตรงซี่โครงซี่ล่างสุด (กลางตัว) หมายถึง กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับและกระดูกลิ้นปี่
    • หากปวดเป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะ
    • หากปวดรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นอาการตับอ่อนอักเสบ
    • หากคลำเจอก้อนเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดใหญ่ อาจเป็นอาการตับโต (ควรรีบปรึกษาแพทย์)
    • คลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็กๆ อาจเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกลิ้นปี่ ควรปรึกษาแพทย์
    1. ปวดชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งของม้าม แนะนำปรึกษาแพทย์ทันที
    2. ปวดบั้นเอวขวา โดยมากจะพบกันบ่อยในผู้หญิง ตำแหน่งนี้คือ ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่
    • อาการปวดมาก หมายถึง ลำไส้ใหญ่อักเสบ
    • อาการปวดร้าวถึงต้นขา อาการเริ่มต้นของนิ่วในท่อไต
    • อาการปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น เป็นอาการของกรวยไตอักเสบ
    • หากคลำเจอก้อนเนื้อ แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
    1. ปวดรอบสะดือ เป็นตำแหน่งลำไส้เล็ก มักพบในคนที่มักท้องเดิน
    • หากกดแล้วปวดมาก คือ อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบ
    • แต่ถ้าปวดแบบมีลมในท้องด้วย อาจแค่กระเพาะลำไส้ทำงานผิดปกติ
    1. ปวดบั้นนเอวซ้าย เป็นตำแหน่ง ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ (เหมือนข้อ 4)
    2. ปวดท้องน้อยขวา เป็นตำแหน่ง ไส้ติ่ง ท่อไตและปีกมดลูก
    • หากปวดเกร็งเป็นระยะๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา หมายถึง กรวยไตผิดปกติ
    • ปวดเสียดตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมาก เป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบ
    • ปวดร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาว เป็นอาการปีกมดลูกอักเสบ
    • คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ เบื้องต้นอาจเป็นก้อนไส้ติ่งหรือรังไข่ผิดปกติ
    1. ปวดท้องน้อย เป็นตำแหน่ง กระเพาะปัสสาวะและมดลูก
    • ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายกระปริบกระปรอย เป็นอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (แต่เป็นกันน้อย)
    • หากปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน เป็นอาการของคุณกำลังมีประจำเดือน
    1. ปวดท้องน้อยซ้าย เป็นตำแหน่ง ปีกมดลูกและท่อไต
    • ปวดเกร็งเป็นระยะและร้าวมาที่ต้นขา เป็นอาการโรคนิ่วในท่อไต
    • ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น ตกขาว เป็นอาการโรคมดลูกอักเสบ
    • ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติ เป็นอาการโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
    • คลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ เป็นอาการโรคเนื้องอกในลำไส้

    ปวดเกร็งท้อง

    การป้องกันอาการปวดเกร็งท้อง

    เนื่องจากอาการปวดเกร็งท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ วิธีป้องกันจึงแตกต่างกันไปตามต้นเหตุ เช่น

    • การป้องกันจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร สามารถทำได้โดยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่รับประทานครั้งละมากๆ หรือเร็วเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป รวมถึงเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย และล้างมือก่อนรับประทานอาหารเสมอ
    • การป้องกันอาการที่เกิดจากระบบสืบพันธุ์ นั่นคือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยบ่อยๆ หรือปวดรุนแรงขณะมีประจำเดือนและปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการที่แน่ชัด
    • การป้องกันจากอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ต้องออกแรงกดที่หน้าท้องมากๆ เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป และระวังการเกิดอุบัติเหตุที่มีการกระแทกรุนแรง
    • การป้องกันจากความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยให้หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน และดูแลสุขอนามัยให้ดีอยู่เสมอ

     

    อาการปวดเกร็งท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางสาเหตุก็อาจรุนแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ หมั่นสังเกตตนเองและคนใกล้ตัวหากมีอาการปวดท้องบ่อยๆ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด

     

    เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

     

    ที่มาของบทความ

     

    ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ hakkarepublic.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • กลุ่มพลังงานชุมชนสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของคุณได้หรือไม่?
    กลุ่มพลังงานชุมชนสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของคุณได้หรือไม่?

    ในย่าน Southside ของ Glasgow มีร้านค้าบนถนน High Street ที่ไม่ได้พยายามขายอะไรให้คุณ ถ้าคุณเข้ามา คุณอาจจะออกมาดีกว่านี้

    ภายในพ่อค้าวอลเปเปอร์ในอดีต ผู้คนใช้เวลาในการนัดหมายล่วงหน้า 60 นาทีเพื่อหาทางลดค่าไฟ

    บริการนี้ดำเนินการโดยกลุ่มชุมชนชื่อ South Seeds และ Poppy Ives

    เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ด้านพลังงานที่ให้คำแนะนำแก่คนในท้องถิ่น เธอพูดคุยกับผู้อยู่อาศัยผ่านหน้าจอ Perspex ที่มีกรอบไม้ สร้างขึ้นโดยช่างซ่อมบำรุงในท้องถิ่น สิ่งนี้ทำให้สามารถเปิดทำการได้ตลอดช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19

    Ms Ives กล่าวว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน บริการได้ช่วยคนในท้องถิ่นประหยัดเงินได้ 35,000 ปอนด์ ผ่านทางโครงการบัตรกำนัลฉุกเฉินของรัฐบาล เงินช่วยเหลือผู้ยากไร้จากบริษัทพลังงาน เช่น British Gas, EDF Energy และ SSE และการจ่ายเงินตามค่าความนิยมตามข้อร้องเรียนไปยังซัพพลายเออร์ เธอกล่าว คงไม่สำเร็จหากขาดการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ

    ทีมงานยังให้คำแนะนำและเคล็ดลับส่วนบุคคลแก่ผู้อยู่อาศัยผ่านการเยี่ยมบ้าน เนื่องจากมีคุณสมบัติหลายประเภท คำแนะนำจึง “ขึ้นอยู่กับบ้านแต่ละหลัง” เธอกล่าว แต่ขั้นตอนง่ายๆ สร้างความแตกต่าง “เช่น กันลม ปิดม่าน หรือลดอุณหภูมิลง”

    South Seeds ไม่ได้อยู่คนเดียว กลุ่มพลังงานชุมชนผุดขึ้นทั่วประเทศเพื่อช่วยผู้คนรับมือกับปัญหาความขาดแคลนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นทั่วสหราชอาณาจักร

    เมื่อหน่วยงานควบคุมพลังงาน Ofgem ยกระดับราคาค่าพลังงาน

    ในเดือนเมษายน ครัวเรือนประมาณ 18 ล้านครัวเรือนจะเห็นค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก กลุ่มองค์กรการกุศล ซึ่งรวมถึง Age UK และ Save the Children เตือนว่าสิ่งนี้จะทำให้ผู้คนประมาณ 6 ล้านคนในอังกฤษต้องดิ้นรนจ่ายเงินเพื่อทำความร้อนในบ้าน

    กลุ่มพลังงานชุมชนหลายกลุ่มดำเนินการนัดหมายแบบตัวต่อตัว การประชุมเชิงปฏิบัติการและการเยี่ยมบ้าน ต้องขอบคุณหน่วยงานท้องถิ่นและเงินทุนเพื่อการกุศล เป้าหมายคือเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคทราบว่าตนมีสิทธิ์ได้รับทุนสนับสนุนและโครงการใดบ้าง ตลอดจนทบทวนข้อตกลงของซัพพลายเออร์และประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่บ้าน

    Chris Blomeley เป็นผู้อำนวยการร่วมของ Community Energy Colchester เขาเพิ่งจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องความยากจนด้านเชื้อเพลิงครั้งแรกของกลุ่มใน Hythe โดยใช้ทุนสนับสนุน 5,000 ปอนด์จาก Essex County Council

    ในการประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นในด่านศุลกากรเก่า

    ซึ่งเป็นอาคารที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม กลุ่มพลังงาน การขนส่งในท้องถิ่น เขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อซาร่าห์ซึ่งมีลูกสี่คน ในตอนท้ายของการสนทนาสั้นๆ เขาพบว่าเธอสามารถประหยัดเงินได้ 100-200 ปอนด์ต่อปี เพียงแค่เปลี่ยนจากมิเตอร์การชำระเงินล่วงหน้าเป็นการชำระเงินแบบหักบัญชีธนาคาร กลุ่มพลังงานชุมชนสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของคุณได้หรือไม่?

    นายโบลมลีย์กล่าวว่า เขาเชื่อว่า “ข้อมูลทั่วไป” เกี่ยวกับราคาพลังงานที่รายงานในข่าวอาจทำให้เข้าใจผิดได้ เนื่องจากไม่ได้ช่วยให้ผู้คนเข้าใจสถานการณ์ของตนเอง

    ในขณะที่ค่าใช้จ่ายคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 700 ปอนด์โดยเฉลี่ยในเดือนเมษายน แต่สิ่งนี้อาจแตกต่างกันไปมากขึ้นอยู่กับวิธีการทำความร้อนในบ้านของคุณ Mr Blomeley กล่าวว่าการนั่งลงกับใครสักคน “เราสามารถเริ่มเข้าใจอย่างแท้จริงว่าอีก 2 ปีข้างหน้าจะมีความหมายสำหรับพวกเขาอย่างไร”

    ในขณะเดียวกัน ความต้องการการสนับสนุนตามความต้องการประเภทนี้ก็เพิ่มขึ้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้เช่นกัน Clare Mains เป็นผู้จัดการของทีม Energy ที่ Plymouth Energy Community ซึ่งให้การสนับสนุนผู้คนในเมืองมาตั้งแต่ปี 2013

    เธออธิบายว่า “การโทรเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่ง” และจำนวนเคสของพวกเขาเพิ่มขึ้น “บ้าน 650 หลังในเดือนที่แล้ว”

    Ms Mains กล่าวว่าวิธีการส่วนบุคคลนั้น “จำเป็นอย่างยิ่ง”

    ในการช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการสนับสนุน กลุ่มพลังงาน ที่เป็นประโยชน์ เพราะในขณะที่มีทุนจำนวนมาก เช่น ทุนเหล่านี้มีเกณฑ์คุณสมบัติที่แตกต่างกัน และคุณไม่สามารถเข้าถึงทั้งหมดได้ในที่เดียว

    “บริการที่เรามอบให้เป็นจุดติดต่อเดียวที่เก็บข้อมูลนี้และสามารถนำทางได้” เธอกล่าว

    จุดมุ่งหมายหลักของเธอ “คือการช่วยให้ผู้คนสามารถควบคุมสิ่งที่เป็นระบบที่สับสนได้มากขึ้น”

    รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ตอบสนองต่อต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเสนอให้ครัวเรือนส่วนใหญ่เลื่อนการเรียกเก็บเงินค่าพลังงานออกไป 200 ปอนด์ และจ่ายภาษีจากสภา 150 ปอนด์เพียงครั้งเดียว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในฤดูใบไม้ร่วง

    สิ่งนี้ควบคู่ไปกับเงินช่วยเหลือและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ส่วนลดบ้านที่อบอุ่น ค่าเชื้อเพลิงสำหรับฤดูหนาว และการชำระเงินสำหรับสภาพอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้ยังมีเงินช่วยเหลือมากมายเพื่อช่วยจ่ายสำหรับสิ่งต่าง ๆ เช่นกระจกสองชั้นและฉนวนผนังโพรง ผู้ให้บริการด้านพลังงานบางรายเสนอการจ่ายเงินให้กับความยากลำบากเช่นกัน แต่อาจขอดูงบประมาณการใช้จ่ายของคุณซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใบสมัครของคุณ

    เมื่อถูกถามว่าระบบซับซ้อนเกินไปหรือไม่ โฆษกรัฐบาลกล่าวว่าชุดสนับสนุนฤดูใบไม้ร่วงจะถูกนำไปใช้โดยอัตโนมัติ และเน้นที่แพลตฟอร์ม Simple Energy Advice ซึ่ง “ให้คำแนะนำที่ชัดเจน” เกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่

    แต่ขอบเขตที่ผู้คนเข้าถึงการสนับสนุนที่พวกเขามีสิทธิ์ได้รับนั้นไม่ชัดเจน

    Ruth London เป็นผู้อำนวยการร่วมของ Fuel Poverty Action

    Fuel Poverty Action เป็นองค์กรการกุศลที่รณรงค์หาแนวทางโดยตรงในการช่วยเหลือผู้คนด้วยค่าพลังงาน รูธ ลอนดอน ผู้อำนวยการร่วมเป็นกังวลและเน้นย้ำถึงความร้ายแรงของภาวะขาดแคลนเชื้อเพลิง เมื่อผู้คนใช้รายได้จำนวนมหาศาลเพียงเพื่อทำให้บ้านร้อนขึ้น

    “ก่อนเกิดโรคระบาด ผู้คนประมาณ 10,000 คนเสียชีวิตทุกปีจากบ้านที่หนาวเย็นในสหราชอาณาจักร และตอนนี้ก็จะขยายวงกว้างออกไปมาก

    “สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีกลุ่มพลังงานชุมชนและพวกเขาสามารถเข้าถึงได้ นั่นอาจสร้างความแตกต่างได้มากกว่าสิ่งอื่นใด แต่ไม่ใช่ทุกคนที่อยู่ในสถานการณ์นั้น”

    ความครอบคลุมทั่วสหราชอาณาจักรเป็นหย่อม ๆ แต่เครือข่ายกำลังเติบโต องค์กรสมาชิก Community Energy England กล่าวว่าขณะนี้มีกลุ่ม 424 ทั่วสหราชอาณาจักร – ดังนั้นจึงอาจคุ้มค่าที่จะค้นหากลุ่มที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

    ย้อนกลับไปที่ Hythe Chris Blomeley กำลังให้รายละเอียดของเขากับเพื่อนของใครบางคนที่เข้าร่วมเวิร์คช็อปของเขา และหวังว่าข่าวจะกระจายออกไป: “ประตูของเราเปิดสำหรับทุกคนที่รู้สึกว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ”

    เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจในเว็บของเรา

    “กิน เก็บ กู้ กระจายเสี่ยง” วิธีบริหารเงินสไตล์ “ซีอีโอ”

    รีวิวหนัง Money Shot : The Pornhub Story

    สังเกต สักนิด ก่อนคิดซื้ออาหาร

    ปัญหาโรคตา มนุษย์ออฟฟิศ

    วิธีหยุดเล่นวิดีโออัตโนมัติบน Instagram วิดีโอเล่นอัตโนมัติ

    ขอบคุณรูปภาพจาก www.pexels.com

    แหล่งที่มา https://www.bbc.com/news/business

    สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่  hakkarepublic.com